[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
กลยุทธ์ฉบับ Red Bull ปั้นธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังสู่อาณาจักรกีฬา-ไลฟ์สไตล์ระดับโลก(22 พ.ย. 2567, 16:13) “เอก สายไหมต้องรอด” ไม่กังวลโดนหมายจับ พ.ร.บ.คอมฯ เตรียมหลักทรัพย์ประกันตัวไว้แล้ว(22 พ.ย. 2567, 16:09) “แพทองธาร” ชวน “โอปอล” มาช่วยโปรโมตผ้าไทย หัวเราะถูกหยอด นายกฯ ก็ประกวดได้(22 พ.ย. 2567, 16:07) AirAsia Media จัดงาน Travel Horizon เปิดตัว หน่วยธุรกิจขายสื่อโฆษณาแอร์เอเชียในมาเลเซียและไทย(22 พ.ย. 2567, 16:06) โปรแกรมบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ 2024-25 นัดที่ 12 ประจำวันที่ 23-25 พ.ย. 67(22 พ.ย. 2567, 16:00) พาเปิดโลกกาแฟและข้าวไทยในมุมใหม่ Thailand Coffee Fest 2024 และ Thailand Rice Fest 2024(22 พ.ย. 2567, 15:55) ตลาดหุ้นอินเดีย สะเทือนครั้งใหญ่ หลังสหรัฐฯ ฟ้อง Gautam Adani ข้อหาฉ้อโกง กองทุนโลก จ่อเทขายเพิ่ม(22 พ.ย. 2567, 15:53) เพื่อไทย หารือวันนี้เช็คบิลนักร้อง หลังศาล รธน. ตีตก “ทักษิณ-พท.” ไม่ล้มล้างการปกครอง(22 พ.ย. 2567, 15:49) อะไรเนี่ย "นักมวยไทยฝ่ายแดง" ชนะคะแนน-พอ "เซียนมวยประท้วง" ทำเปลี่ยนคำตัดสิน และยกเลิกแข่ง(22 พ.ย. 2567, 15:47) "เบทาโกร" ร่วมลงทุน "Plantible" มุ่งสร้างระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน(22 พ.ย. 2567, 15:35) ก้อง ห้วยไร่ สุดภูมิใจชื่นชมลูกสาว จากเด็กติดเกมแต่ตอนนี้หาเงินได้หลักแสน (22 พ.ย. 2567, 15:31) แชมป์เก่าไม่ง่าย-มีเดือดหลายคู่ สรุปผลจับสลากฟุตบอล ช้าง เอฟเอ คัพ รอบ 32 ทีม(22 พ.ย. 2567, 15:29) ทบ. สั่งย้าย เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เซ่นปมทำร้ายร่างกายกำลังพล(22 พ.ย. 2567, 15:21) ศาลออกหมายจับ "เอก สายไหม" คดีนำพยานเท็จแฉ "ดิไอคอน"(22 พ.ย. 2567, 15:14) สั่งสอบ นายก อบต. ที่ จ.เชียงราย เมาโวยวาย ไม่เป่าแอลกอฮอล์ อ้าง นรต.รุ่น 51(22 พ.ย. 2567, 15:12) โอนเงิน 10,000 ซ้ำรอบ 2 ไม่สำเร็จ 43,699 ราย “จุลพันธ์” แนะรีบผูกพร้อมเพย์(22 พ.ย. 2567, 15:03) Squid Game 2 ยังฮอตต่อเนื่อง คอลแลบ 4 แบรนด์ดังยอดฮิต ร่วมทำแคมเปญก่อนฉายเดือนหน้า(22 พ.ย. 2567, 15:00) ก่อนถึงนัดที่ 12 ย้อนผลงาน 6 กุนซือ "พรีเมียร์ลีก" ที่เก็บแต้มได้มากที่สุด จาก 11 นัดแรก(22 พ.ย. 2567, 14:59) ขนม ศศิกานต์ แชร์โพสต์ ชีวิตมักมีสิ่งที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นเสมอ ครูเต้ย คอมเมนต์(22 พ.ย. 2567, 14:56) มีต่างชาติแค่ 3 คน! “ชัชชุอร-ทัดดาว” จับใจฝ่ายจัดฯ ติดทีม All-Star วอลเลย์บอลลีกญี่ปุ่น(22 พ.ย. 2567, 14:55)
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 2 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
E–Service ครู นักเรียน
การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ
การบริหารงาน
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การส่งเสริมความโปร่งใส
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก
  
วันภาษาไทยแห่งชาติ  
 

กิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2564

ความเป็นมาของวันภาษาไทย

          สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์

          พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในครั้งนั้น ทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง ดังความตอนหนึ่งความว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ … สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี”

          นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส

          คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ" เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่น ๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์, วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ" 

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งวันภาษาไทยแห่งชาติ

          1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย

          2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

          3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

          4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ ให้สัมฤทธิผลยิ่งขึ้น

          5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย

          1. พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อปี พ.ศ. 1826

          2. พยัญชนะไทยมี 44 ตัว 21 เสียง

          3. สระในภาษาไทยมี 21 รูป 32 เสียง

          4. วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป ได้แก่ รูปเอก รูปโท รูปตรี รูปจัตวา

          5. วรรณยุกต์ไทยมี 5 เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

          6.  พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปมาจากอักษรมอญและอักษรเขมร (อักษรขอม) มีพยัญชนะ 39 รูป สระ 20 รูป วรรณยุกต์ 2 รูป รวมทั้งหมด 61 รูป

          7. พยัญชนะไทยแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

                   อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

                   อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

                   อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

 

ทำแบบทดสอบความรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษา เรื่องวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี 2564  (แบบทดสอบนี้มีจำนวน 20  ข้อ ต้องผ่าน 15  ข้อ (75%) ขึ้นไปเพื่อรับเกียรติบัตรทางอีเมล์ที่ได้กรอกไว้)

เปิดให้ทำแบบทดสอบวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 - 6 สิงหาคม 2564

ตัวอย่างเกียรติบัตร