Universal Prevention หรือ
“มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล” คืออะไร ?
และจะกระทบกับวิถีชีวิตของเราอย่างไร ?
ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าว
thaikool ไทย อสมท สอบถามกับ
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร
ที่ปรึกษา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)
ทำไมจึงต้องใช้ Universal Prevention ?
VIDEO
เพราะว่าแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์โควิด-19
ของทั้งโลก และของประเทศไทย ยังดำเนินอยู่ไปอย่างกว้างขวาง
และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะจบเมื่อไหร่
เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการที่มันมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา
และแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น และรวดเร็วขึ้นด้วย
และปัจจุบัน เราพบว่าการระบาดส่วนใหญ่ เกิดในคนใกล้ชิดกัน
เช่น อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ที่ทำงานเดียวกัน ในชุมชนเดียวกัน
และมีข้อมูลยืนยันอย่างชัดเจนว่า
มี “ผู้ติดเชื้อโควิด-19 แฝง” คือ ไม่มีอาการ และไม่ไปตรวจหาเชื้อ
อยู่ประมาณ 5-6 เท่า (ของผู้ตรวจพบเชื้อ) ซึ่งอันนี้เยอะมาก
รวมทั้ง ผู้ที่รับวัคซีน หลัง 2 เข็มแล้ว ก็ยังติดเชื้อโควิดได้อีก
ซึ่งแสดงว่า วัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ 100%
แล้วมันดีกว่ามาตรการที่เราทำกันมาตลอดยังไงครับ
มาตรการทางสาธารณสุขเดิม D-M-H-T-T มันดีครับ
แต่ Universal Prevention เป็นการยกระดับให้เข้มข้นมากขึ้น
และต้องทำทุกคน ทุกเวลา ทุกสถานที่ จะได้ผลที่กว้างกว่า
มันจะไปช่วยเสริมกับวัคซีน เพราะวัคซีนไม่ได้ป้องกันได้ 100%
ทำไมต้องมีคำว่า “ครอบจักรวาล” เหรอครับ
“ครอบจักรวาล” หมายความว่า เป็นการป้องกันสูงสุด
ป้องกันตัวเอง ทุกอย่าง ทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา
ต้องคิดเสมอว่า เราอาจจะไปเผลอรับเชื้อโดยไม่รู้ตัวก็ได้
หรือ รอบตัวเป็นคนติดเชื้อ และเขาอาจจะแพร่เชื้อมาให้เราก็ได้
ทุกเวลา ทุกสถานที่ ไม่ใช่บอกว่า กลับมาบ้านแล้วปลอดภัย
ต้องคิดว่า กลับมาบ้านแล้วยังมีโอกาสติดเชื้อจากคนในครอบครัวเราได้
ใช้ป้องกันโดยทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะแค่แพทย์
สมัยก่อนเนี่ย Universal Prevention เราใช้มากตอนมีโรคเอดส์มา
แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ จะต้องยึดหลัก Universal Prevention
แล้วพอเราควบคุมเอดส์ได้เป็นอย่างดี คำนี้ก็จางไป
แต่เราไม่เคยเอามาใช้กับคนที่ไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์
ไม่เคยเอามาใช้นอกโรงพยาบาล
จะทำ Universal Prevention นี่ต้องทำอะไรบ้างครับ
แนวทางปฏิบัติ 10 ข้อครับ
1) ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น
2) เว้นระยะห่างจากคนอื่น 1-2 เมตร ในทุกสถานที่
3) สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ถ้าท่านอยู่มากกว่า (ตั้งแต่) 2 คน แม้จะอยู่ในบ้าน
ถ้าออกนอกบ้าน ท่านจะต้องสวมหน้ากากผ้าทับด้วย
เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันมันเพิ่มขึ้นอีก 30-40%
ต้องรักษาสุขอนามัยให้มาก
4) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่
หรือถ้าไม่มีสบู่ ก็ใช้แอลกอฮอล์เจล
เช่น ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ห้องส้วม เมื่อไอจาม
สัมผัสวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ ที่ใช้ร่วมกัน
5) หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสด้านหน้าของหน้ากากอนามัย
เพราะด้านหน้าเชื้อมันมาติดแปะอยู่ครับ
ถ้าเราไปจับติดมือเรา แล้วเอาไปถูกจมูก ปาก ตา มันจะเข้าตัวเราได้ง่ายมาก
ออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
6) คนที่มีความเสี่ยงสูง 60 ปี กับผู้มีโรคร่วม โรคเรื้อรังทั้งหลาย
เจ็บป่วยรุนแรง และตาย เยอะที่สุด
คนกลุ่มนี้อย่าออกนอกบ้านเลย บ้านคือหลุมหลบภัยที่ดีที่สุดสำหรับท่าน
ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านจริง ๆ เช่น ไปโรงพยาบาล
ก็ไปให้น้อยครั้งที่สุด ใช้เวลาให้สั้นที่สุด
ทำความสะอาดฆ่าเชื้อจุดสัมผัสร่วม
7) ต้องทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ
ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ราวบันได ลูกบิดประตู
ปุ่มลิฟต์ ปุ่มชักโครก เป็นต้น
ผมเองแนะนำว่า ท่านต้องมีแอลกอฮอล์สเปรย์ ติดตัวตลอด
ก่อนจะจับ ก็พ่นสเปรย์ก่อนแล้วค่อยจับ
หรือจะกดลิฟต์ ก็พ่นสเปรย์ก่อน
8) แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด
9) เลือกทานอาหารที่ร้อนและปรุงสุกใหม่
ไม่ควรทานอาหารรวมกันเป็นกลุ่ม
ขอให้นั่งแยกกันห่าง ๆ หรือ ทานคนละมุม หรือ ทานคนละเวลา
ถ้าต้องทานรวมกัน ขอให้ใช้ช้อนส้อมกลางส่วนตัวครับ
และที่มีบทบาทเพิ่มขึ้นมา คือ การตรวจเชื้อเองบ่อย ๆ
และ 10) หากท่านมีข้อสงสัยว่า มีความเสี่ยง
หรือไม่แน่ใจว่าไปสัมผัสผู้อาจติดเชื้อ หรือเกิดมีอาการขึ้นมา
จะต้องได้รับการตรวจด้วย ATK นะครับ
ถ้าเป็นผลบวก ยืนยันว่า ท่านติดเชื้อแน่
ถ้าเป็นผลลบ อาจเป็นผลลบปลอม
ขอให้ท่านตรวจซ้ำ 3-5 วัน ไปเรื่อย ๆ ครับ
เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านท่าน
ใช้มาตรการเหล่านี้ แทนวัคซีนได้ไหมครับ
ถ้าพูดตามทฤษฎีนะ ถ้าท่านปฏิบัติได้ 100% จริง ๆ
ผมเชื่อเลยว่ามันป้องกันได้จริง ๆ ไม่ต้องใช้วัคซีน แต่....
แต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้
ที่ท่านจะไม่มีความเสี่ยงเลย หรือไม่สัมผัสกับใครเลย
อยู่แต่บ้านอย่างเดียว และ ลูกเต้าก็ห้ามมาเยี่ยมหมดเลยนะ
ดังนั้น ก็อยากจะย้ำตรงนี้นะครับว่า
ในบริบทปัจจุบันนี้ การฉีดวัคซีน มีประโยชน์แน่ แต่ไม่ได้กันได้ 100%
ดังนั้นผมคิดว่า เราจะต้องทำ Universal Prevention ด้วย
และต้องได้รับวัคซีนด้วยครับ สองอันนี้มันจะมาเสริมซึ่งกันและกัน
จะทำให้แม้เราเผลอไปรับเชื้อมา ก็จะไม่เจ็บป่วยรุนแรง และอาจจะไม่ตายได้
แล้วเราจะต้องทำแบบนี้ไปจนถึงเมื่อไหร่ครับ
ถ้าจะต้องทำแบบเข้มข้นเนี่ย อย่างน้อยต้องถึงสิ้นปี
คือ จะต้องมีคนได้ฉีดวัคซีน 70% ของประชากร
ซึ่งเราคาดว่าจะจบ ประมาณในเดือนธันวาคม 2564
จะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 70% ของประชากร
ซึ่งการที่มีภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ herd immunity
จะทำให้โอกาสติดเชื้อน้อยลงมาก
มันจะกลายเป็นโรคประจำฤดูไป เหมือนโรคไข้หวัดธรรมดา
ซึ่งอันนี้เราสู้ไหว ถึงตอนนั้นเราอาจจะผ่อนมาตรการลงได้
แต่ยังต้องปฏิบัติอยู่
ดังนั้นหลักการของ Universal Prevention
เป็นการป้องกันติดเชื้อแบบครอบจักรวาล
คุณคิดอะไรไม่ออก ต้องทำแบบนี้เลย
คุณต้องป้องกันไว้ก่อน
เรียนรู้ ปรับตัว ป้องกันให้เต็มที่ไว้ก่อน
ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจนลุกลามนะครับ
พบกับ “ชัวร์ก่อนแชร์ Membership”
พื้นที่ใหม่ ที่ให้คุณ เรียนรู้ ตรวจสอบ ถามตอบ
สนับสนุน และ ใกล้ชิดกันมากขึ้น
พบกันที่ YouTube ชัวร์ก่อนแชร์ นะครับ
ยังมีอีกหลายเรื่องน่าสงสัยบนสังคมออนไลน์
หากได้รับอะไรมาอย่าเพิ่งแชร์ต่อ
ร่วมตรวจสอบไปด้วยกันกับ ชัวร์ก่อนแชร์
ชัวร์ก่อนแชร์ แชร์มั่ว แชร์ผิด อาจมีสิทธิ์ติดคุกได้นะครับพี่น้อง